ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

iPhone 4S

Brian Blair นักวิเคราะห์ตัวยงแห่ง Wedge Partners ผู้เคยแสดงความแม่นยำในการวิเคราะห์เรื่อง iPhone 4S ที่ผ่านมา
 


Brian Blair นักวิเคราะห์ตัวยงแห่ง Wedge Partners ผู้เคยแสดงความแม่นยำในการวิเคราะห์เรื่อง iPhone 4S ที่ผ่านมา ได้รายงานออกความเห็นว่า Apple จะยังไม่มี iPad รุ่นหน้าจอ 7.85 นิ้วออกมาในปี 2012 อย่างที่หลายคนคาดไว้แน่นอน ทั้งนี้มีหลายปัจจัยที่สนับสนุนความคิดนี้ เช่น Steve Jobs เคยกล่าวแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับแท็บเล็ต 7 นิ้ว พร้อมทั้งบอกว่าเป็นขนาดที่ไม่เหมาะให้ซอฟต์แวร์ iOS ทำงานในแบบแท็บเล็ตได้ดีพอ
อย่างไรก็ดี เชื่อว่า Apple จะใช้ยุทธศาสตร์การตลาดเดียวกันกับ iPhone มาใช้ นั่นคือ Apple จะปล่อย iPad 2 รุ่นราคาถูกออกมาก่อน แทนที่จะออก iPad 3 มาเลย (เหมือนกับ iPhone 4S แทนที่จะเป็น iPhone 5) ดังนั้น เชื่อว่าเราจะได้เห็น iPad 2 รุ่น 16GB ที่มีราคาอยู่ในช่วง $349 ถึง $399 เหรียญ (ประมาณ 12,000 บาท) ออกมาสู่ตลาดแน่นอน

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์ตรวจจับความเร็ว

เครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ

หลักการทำงานคือ เมื่อรถขับด้วยความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดผ่านเลเซอร์ตรงจุดที่ตรวจ
กล้องจะทำการถ่ายภาพรถและทะเบียนรถไว้โดยอัตโนมัติ พร้อมจะแสดงวัน เวลา ความเร็วและ
สถานที่ จะนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปที่ฝ่ายอำนวยการตำรวจทางหลวงเพื่อตรวจสอบและออกหมาย
เรียกส่งไปยังที่อยู่ของผู้ครอบครองรถตามทะเบียนและถ้าไม่ไปชำระภายใน 7 วัน ข้อมูลจะถูกส่ง
ไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่ออายัตการต่อทะเบียนรถต่อไป

การทำงานของเครื่องตรวจจับความเร็วด้วยแสงเลเซอร์นี้ สามารถใช้งานได้ทั้งระบบควบคุมเองและระบบอัตโนมัติ โดยเมื่อรถที่ใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดผ่านจุดตรวจกล้องก็จะทำการถ่ายภาพโดยอัตโนมัติ จากนั้นความเร็วและภาพรถ จะถูกส่งมาจัดเก็บและแสดงที่ชุดประมวลผลพร้อมแสดง วันเดือน ปี เวลา สถานที่ จากนั้นข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อมายังศูนย์อำนวยการตำรวจทางหลวงเพื่อที่จะตรวจสอบทะเบียนรถ และออกใบสั่งส่งไปยังที่อยู่ของผู้ครอบครองรถตามทะเบียน ต่อไปและหากผู้ได้รับใบสั่งไม่ไปชำระค่าปรับภายในเวลา 7 วัน กองบังคับการตำรวจทางหลวงจะส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งเพื่ออายัดการต่อทะเบียนรถด้วย สำหรับความเม่นยำของเครื่องเป็นไปตามมาตรฐานขององค์กร International Association of Chiefs of Police (The IACP) ทั้งยังประสานสำนักมาตรวิทยาแห่งชาติ เพื่อทำการคาริเบธเครื่อง เป็นประจำทุกปีและก่อนที่จะนำไปตรวจจับตามจุดต่างๆ ก็จะมีการทดสอบก่อนทุกครั้งด้วยจึงมั่นใจได้ว่าเครื่องจะสามารถตรวจจับได้อย่างแม่นยำ

ซึ่งตำรวจทางหลวงจะทำการสุ่มเปลี่ยนจุดตรวจทุกครั้งที่มีการติดตั้งด้วย หลังจากตำรวจทางหลวงจึงได้จัดหาเครื่องตรวจจับความเร็วด้วยแสงเลเซอร์ จำนวน 45 ชุด แจกจ่ายให้กับสถานีตำรวจทางหลวง กองกำกับการ และกองบังคับการตำรวจทางหลวงทั่วประเทศ ได้ใช้ติดตั้งเพื่อปรามบรรดาตีนผีเหล่านี้ โดยข้อมูลจากหน่วยตรวจจับความเร็วไฮ- เทคทั่วประเทศที่ถูกส่งมายังศูนย์อำนวยการตำรวจทางหลวง พบว่าเพียงแค่ 3 เดือนแรกที่มีการติดตั้งเครื่องก็ได้จ่ายใบสั่งให้ผู้ที่ขับรถเร็วเกินกำหนดไปแล้วจำนวนมากถึง 42,304 รายซึ่งจะนำไปสู่การปรามผู้ขับรถเร็วได้ในอนาคต โดยตำรวจทางหลวงยังได้มีแผนที่จะติดตั้งเครื่องตรวจจับความเร็วเพิ่มอีก 45 ชุดภายในปี 2550เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมี 2 ชุด คลอบคลุมพื้นที่การใช้งานในอนาคตด้วย
หลักฐานที่แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ

เส้นทางที่ตั้งกล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัตินี้ มีอยู่หลายจุดทั่วประเทศ ได้แก่
1. เส้นทางสายพหลโยธิน ช่วงรังสิต ถึง สระบุรี 2 จุด
2. เส้นทางสายมิตรภาพ ระหว่าง สระบุรี ถึง นครราชสีมา 2 จุด
3. เส้นทางสายมิตรภาพ ระหว่าง นครราชสีมา ถึง ขอนแก่น 2 จุด
4. เส้นทางสายเอเชีย ระหว่าง อยุธยา ถึง นครสวรรค์ 1 จุด
5. เส้นทางสายเอเชีย ระหว่าง นครสวรรค์ ถึง ตาก 1 จุด
6. เส้นทางสายเอเชีย ระหว่าง ตาก ถึง เชียงใหม่ 1 จุด
7. เส้นทางสายกรุงเทพ นครปฐม วังมะนาว 1 จุด
8. เส้นทางสายกรุงเทพ วังมะนาว 1 จุด
9. เส้นทางสาย วังมะนาว ถึง หัวหิน1 จุด
10. เส้นทางสายเพชรเกษม (เลี่ยงเมือง) ชะอำ ถึง ปราณบุรี 1 จุด
11. เส้นทางสายเพชรเกษม ประจวบคีรีขันธ์ ถึง ชุมพร 1 จุด
12. เส้นทางสายเพชรเกษม ชุมพรถึง สุราษฎร์ธานี 1 จุด
13. เส้นทางสายบางนา -ตราด ระหว่าง กรุงเทพ ถึง บางปะกง 1 จุด
14. เส้นทางสายสุขุมวิท ระหว่าง ชลบุรี ถึง พัทยา 1 จุด
15. เส้นทางสายมอเตอร์เวย์ ชลบุรี ถึง ระยอง 2 จุด
16. และเส้นทางสายสุขุมวิท ระหว่าง ระยอง ถึง จันทบุรี1 จุด

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์

 จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้
    ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในทางปฏิบัติแล้วการระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก
    ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย

              ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์
    มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลสารสนเทศ และเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่รวดเร็ว ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรม
    ต่าง ๆ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน และหน่วยงานงานธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ใน 2-3 ปีข้างหน้าความก้าวหน้า
    ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จะมีการพัฒนาในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์
แวร์ การสื่อสาร เครือข่ายไร้สาย
    และเครือข่ายเคลื่อนที่ ตลอดจนเทคโนโลยีหุ่น

              มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้นำอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเหล่านั้นมาช่วยอำนวย
    ความสะดวก ลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต หรือแม้แต่การช่วยชีวิตมนุษย์ เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการเก็บกู้ระเบิด
    และการผ่าตัดรักษาโรค

              ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์มากมายเพียงใดก็ตาม หากพิจารณาอีกด้านหนึ่งแล้ว คอมพิวเตอร์ก็อาจ
    จะเป็นภัยได้เช่นกัน หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวังหรือนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในการการใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกันในสังคม
    ในแต่ละประเทศจึงได้มีการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดจริยธรรม
    ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น

              1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย หรือก่อให้เกิดความรำราญ

              2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล

              3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

              4. การละเมิดลิขสิทธิ์

PAPA

              โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น
    ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย

    ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)

              ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไป หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพังและเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถ
    ที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งส่วนบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรต่าง ๆ
    ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้

              1. การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก
    แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร

              2. การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับ
    หรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ
    แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม

              3. การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด

              4. การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูล
    ประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น

              ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล
    โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการให้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และ
    ที่อยู่อีเมล์

    ความถูกต้อง (Information Accuracy)

              ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือ
    ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็น
    ด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูล
    ที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์กรให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์
    อีกประเด็น คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิด
    ข้อผิดพลาดในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง
    ก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไป
    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบหรือที่สอน เพื่อ
    ตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง

    ความเป็นเจ้าของ (Information Property)

              สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น รถยนต์
    คอมพิวเตอร์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถ
    ถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น

              ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มี
    การจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้นสำหรับท่านเอง หลังจากที่ท่านเปิดกล่อง หรือ
    บรรจุภัณฑ์แล้ว หมายความว่า ท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไป
    ในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมจะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
    ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้น ๆ ได้
    หลาย ๆ เครื่อง ตราบใดที่ยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา

              การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการ
    คัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธิ์ในระดับใด เช่น

              Copyright หรือ Software License ท่านซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์มา และมีสิทธิ์ใช้

              Shareware ซอฟต์แวร์ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

              Freeware ซอฟต์แวร์ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้

    การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

              ปัจจุบันการใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อ
    เป็นการเข้าไปดำเนินการต่าง ๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่ส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิ
    ในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้นในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มี
    การออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็น
    การผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

              ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติ ตามระเบียบและข้อบังคับ
    ของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Meizu

Meizu แบรนด์เครื่องเล่น MP3 จากจีนที่หันมาสนใจตลาด Smartphone เปิดตัว Meizu MX รุ่นแรกที่ใช้ CPU Dual-Core มาพร้อมกับฟีเจอร์ระดับสูง
 


Meizu แบรนด์เครื่องเล่น MP3 จากจีนที่หันมาผลิต Smartphone หลังจากปล่อยรุ่น M8 และ M9 ท่ามกลางข้อกังขาว่ามันช่างละม้ายคล้ายคลึงกับ iPhone เสียนี่กระไร ถึงเวลาอันเหมาะสมแล้วในการปล่อยรุ่นที่ 3 Meizu MX ซึ่งมาพร้อมกับ CPU Dual-Core ตามสมัยนิยม ถือเป็นรุ่นแรกที่ใช้ CPU Dual-Core ของแบรนด์อีกด้วย อักษร MX นั้นมาจากคำภาษาจีนที่อ่านว่า "Meng Xiang" แปลว่าความฝัน
สเปคของ Meizu MX ประกอบด้วยชิปเซ็ต Samsung Exynos CPU Dual-Core 1.4GHz, RAM 1GB, หน้าจอ ASV ขนาด 4 นิ้วความละเอียด 960x640 พิกเซล, หน่วยความจำภายใน 16GB, กล้อง 8 ล้านพิกเซล บันทึกวีดีโอระดับ HD 1080p, กล้องหน้า VGA, Bluetooth, WI-Fi, A-GPS, HSPA+, ความจุแบต 1,600mAh, Android 2.3.5 (อัพเดท Ice Cream Sandwich ได้ภายหลัง) เวอร์ชั่น 16GB สนราคาอยู่ที่ 2,999 หยวน (14,500 บาท) วางตลาดวันที่ 1 มกราคม 2012 และเวอร์ชั่น 32GB จะตามมาในภายหลัง